หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ
ภาษาอังกฤษ: Master of Arts Program in English for Professional Development

 

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ)
ชื่อย่อ : ศศ.ม. (ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Arts (English for Professional Development)
ชื่อย่อ : M.A. (English for Professional Development)

 

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ ได้รับการพัฒนาขึ้น บนพื้นฐานแนวคิดจัดการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitivism) เน้นกระบวนการทางปัญญา   เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยที่ผู้เรียนเป็นผู้เรียนค้นพบด้วยตนเอง และมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน รวมถึงแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบ Inquiry-based education (การเรียนรู้แบบสืบเสาะ) ที่เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากการตั้งคำถามและแก้ไขปัญหา โดยการนำเอาประสบการณ์ หรือสิ่งที่พบเห็นมาเชื่อมโยงกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม เพื่อสร้างเป็นความเข้าใจของตนเองอันเป็นรากฐาน สำคัญในการเรียนรู้ แนวคิดการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวสอดคล้องกับแนวทางการจัด     การศึกษาแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome-based Education) ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของการปรับปรุงหลักสูตรฉบับนี้  ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็น ศูนย์กลางการเรียนรู้  และการเรียนการสอนที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน แนวคิดการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว ช่วยพัฒนากำลังคนขั้นสูงที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางอีกด้วยการเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมเกิดการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลง รวมถึงภาคการศึกษาเกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ การปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นนวัตกรรม การสร้างสรรค์ให้ผู้เรียนคิดและทำได้ด้วยตนเอง มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลิกผัน ด้วยเหตุนี้หลักสูตรจึงมุ่ง ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2558

หลักสูตรมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง มีความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ทางภาษา ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม รวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับภาษา เพื่อการพัฒนาวิชาชีพ ทั้งในส่วนที่เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการสอนภาษาอังกฤษ หรือใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ กลางในการสอน รวมถึงวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเชิงวิชาการ การสื่อสารอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการใช้ทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ รวมถึงทักษะการสื่อสารภาษา อังกฤษระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ      
  2. พัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพของบัณฑิตโดยบูรณาการองค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ เพื่อการค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับภาษาได้อย่างสร้างสรรค์ 
  3. ส่งเสริมบัณฑิตให้เป็นผู้แสวงหาความรู้ มีความคิดริเริ่มและมีคุณธรรมจริยธรรม  

 

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรมีความมุ่งเน้นให้เกิดความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด หลักการ การออกแบบกิจกรรมและการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยไม่จำกัดรูปแบบ และพื้นที่การเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เน้นการพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ บูรณาการศาสตร์ด้านภาษาอังกฤษและเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น เพื่อออกแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมทักษะการเป็นผู้นำทางวิชาการในการให้แนวคิด หลักการ และวิธีการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอังกฤษ และมีการจัดการเรียนการสอนแบบ Micro-credential  ตามระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา ประกอบด้วย 2 ภาคการศึกษาปกติ คือ ภาคการศึกษาต้น และภาคการศึกษาปลายโดยแต่ละภาคการศึกษามีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ (ไม่รวมการสอบ)

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. อาจารย์ผู้สอนรายวิชาภาษาอังกฤษ หรืออาจารย์ผู้สอนรายวิชาอื่นที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ
  2. นักวิชาการ นักวิจัยด้านภาษาอังกฤษ
  3. นักพัฒนาสื่อกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
  4. นักสื่อสารและประสานงาน นักเจรจาต่อรอง  
  5. บุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในองค์กรระหว่างประเทศ 
  6. อาชีพอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO1     ปฏิบัติตามหลักคุณธรรมจริยธรรมในการผลิตงานวิชาการ
  • PLO2     วิเคราะห์หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ หลักการสื่อสารและการสื่อสาร ระหว่างวัฒนธรรม และหลักการวิจัยทางภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ 
  • PLO3     บูรณาการและประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับศาสตร์ภาษาอังกฤษ การรับภาษาที่สอง หลักการสื่อสาร การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและหลักการวิจัยทางภาษาอังกฤษ เพื่อนำเสนอแนวคิดในการ ปรับปรุงประเด็นปัญหาตามบริบททางวิชาชีพ  
  • PLO4     ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นและปรับตัวภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงหรือพลิกผัน
  • PLO5     มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม รวมถึงวิเคราะห์และ เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สอดคล้องกับการผลิตงานวิจัย  

 

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียม (จำนวน 4 ภาคการศึกษาในหลักสูตร)

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 200,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 50,000 บาท

 

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 1  
  จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)
    โครงสร้างหลักสูตร  
    1. หมวดวิชาบังคับ 0 หน่วยกิต*
    2. หมวดวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
    หมายเหตุ: ให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนรายวิชา ระเบียบวิธีวิจัยของภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ (Research Methodology in English for Professional Development) รายวิชาสัมมนาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ 1 (Seminar in English for Professional Development 1) และรายวิชาสัมมนาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ 2 (Seminar in English for Professional Development 2) โดยไม่นับหน่วยกิต  
       
แผน ก แบบ ก 2  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)
    โครงสร้างหลักสูตร  
    1. หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
    3. หมวดวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
       
แผน ข  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)
    โครงสร้างหลักสูตร  
    1. หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 15 หน่วยกิต
    3. หมวดการค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต

 

ข้อมูลอ้างอิง

อ้างอิงจาก หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ พ.ศ. 2565

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 21 ก.ย. 65