หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ

ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in English for Professional Development

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ)
ชื่อย่อ : ปร.ด. (ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (English for Professional Development)
ชื่อย่อ : Ph.D. (English for Professional Development)

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานแนวคิดคอนสครัคติวิสต์เชิงสังคม (Social Constructivism)  ที่เชื่อว่าการเรียนรู้หรือการสร้างความรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียนจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้เรียนด้วยกันและผู้สอน ตลอดจนการนำประสบการณ์และสารสนเทศใหม่ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า บนพื้นฐานของความเข้าใจบริบทสังคมและวัฒนธรรมของการใช้ภาษาอังกฤษในวิชาชีพ ทั้งบริบทท้องถิ่นและบริบทโลกอย่างลึกซึ้ง หลักสูตรฉบับนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงเวลาของการพลิกผันทางสังคมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)  ซึ่งทำให้รูปแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิม ไปเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อต่างๆ   ทำให้ต้องมีการวิจัยเพื่อสร้างรูปแบบ หลักการ และวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการและบริบทของผู้ใช้ภาษาอังกฤษในวิชาชีพต่างๆ  นอกจากนี้ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ภาษาอังกฤษมีบทบาทในวิชาชีพต่างๆ มากขึ้น  การใช้ภาษาอังกฤษในวิชาชีพมิได้จำกัดแต่เพียงการสื่อสารทั่วไปในองค์กรนานาชาติเท่านั้น หากยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ในวิชาชีพผ่านสื่อภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางในการสื่อสาร  บุคลากรในวิชาชีพที่มีสมิทธิภาพด้านภาษาอังกฤษสูง จึงมีโอกาสในการแข่งขันสูงเนื่องจากสามารถเผยแพร่ความรู้และนำองค์กรสู่นานาชาติได้  ความต้องการในการยกระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและเพื่อปฏิบัติงานในวิชาชีพต่างๆ จึงมีสูงขึ้น  

หลักสูตรนี้ จึงมุ่งสร้างผู้เรียนที่มีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่จากการบูรณาการศาสตร์ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ บนพื้นฐานของทฤษฎีและงานวิจัยด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์และด้านภาษาอังกฤษ     โดยบัณฑิตจะต้องมีภาวะผู้นำทางวิชาการในสาขาภาษาอังกฤษ มีความยืนหยุ่นทางความคิด สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ  ตลอดจนสามารถบริหารจัดการและถ่ายทอดนวัตกรรมสู่สังคมได้เหมาะสมกับบริบท  

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. มีคุณธรรมจริยธรรมของนักวิจัยในสาขาภาษาอังกฤษ
  2. มีความรู้ความเชี่ยวชาญในทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการรับภาษาที่สอง การออกแบบการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ระเบียบวิธีวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
  3. สามารถสร้างงานวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

  1. ผู้สอนภาษาอังกฤษในสถาบันการศึกษาทุกระดับ 
  2. นักวิจัยด้านภาษาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาศาสตร์ประยุกต์
  3. นักออกแบบกิจกรรม นักสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษในสถาบันการศึกษาต่างๆ 
  4. ผู้บริหารหลักสูตร/โครงการการศึกษานานาชาติ
  5. ศึกษานิเทศก์สาขาภาษาอังกฤษ
  6. นักนโยบายและแผนด้านการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ (English Language Policy Makers)

  • PLO 1   สามารถปฎิบัติตามหลักจริยธรรมการวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อออกแบบสร้างสรรค์งานวิจัยและงานวิชาการด้านภาษาอังกฤษ
  • PLO 2   สามารถวิพากษ์และประเมินแนวคิด หลักการ ทฤษฏีทางด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์การออกแบบการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ระเบียบวิธีวิจัยด้าน  มนุษยศาสตร์  และสังคมศาสตร์
  • PLO 3   สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ในศาสตร์ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาวิชาชีพและการพัฒนาสิทธิภาพด้านภาษาอังกฤษในวิชาชีพอื่นๆ 
  • PLO 4   เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาสมิทธิภาพด้านภาษาอังกฤษ
  • PLO 5   สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและวิจัยที่ซับซ้อน เลือกใช้สถิติได้เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล  และใช้ภาษาอังกฤษในการถ่ายทอดแนวคิดและงานวิจัยในระดับสากล
  • PLO 6   สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการออกแบบนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

(แบบที่ 2.1) จำนวน 6 ภาคการศึกษาในหลักสูตร

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 450,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 75,000 บาท

แบบ 1.1  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต 
    1. หมวดดุษฎีนิพนธ์         48   หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาบังคับ         ไม่นับหน่วยกิต 
       
แบบ 2.1  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต 
    1. หมวดดุษฎีนิพนธ์         48   หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาบังคับ         12   หน่วยกิต 
       

อ้างอิงจาก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ  พ.ศ. 2565

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 9 ส.ค. 65